Contagion ความ(เหมือน)จริงที่ใกล้ตัวกว่าที่คิด


     หนังพยายามเล่าเรื่องเกี่ยวกับการจัดการกับภัยพิบัติที่เรียกได้ว่า เป็นอีกรูปแบบหนึ่งที่ไม่ค่อยมีคนมองและมันใกล้ตัวมากกว่าที่คิด ส่วนใหญ่จะเน้นไปทาง Post-Apocalypse มากกว่าเช่น 28 Series เป็นต้น  โดยในเรื่องนี้พยายามเน้นการเกี่ยวข้องระหว่างตัวละคร ตั้งแต่จุดเริ่มต้นของเรื่องที่ Beth Emhoff กลับมาบ้าน 

     ตัวหนังพยายามเน้นความเชื่อมโยงของตัวละครในระยะแรกของการติดเชื้อ และพยายามเน้นสิ่งที่อาจเป็นไปได้ที่ทำให้เกิดการระบาดในหลายๆจุดไม่ว่าจะเป็นการสัมผัสหรือการใกล้ชิด และการทำงานของหน่วยงานอย่าง WHO ที่มีภาระกับเรื่องแบบนี้โดยตรงตั้งแต่การวิเคราะห์หาสาเหตุ (ซึ่งทำให้ผมคิดถึงหนังแนว Bourne ขึ้นมาทันที) รวมถึงต้องจัดการกับสภาวะความกลัวของสังคมที่ทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ อิทธิพลของ Blogger และมุมมองของคนธรรมดาที่มีต่อ Blogger เป็นสิ่งที่สะท้อนความสมจริงได้อย่างมากจากประโยคที่ว่า "Blogging is not writing. It's just graffiti with punctuation."

     อีกสิ่งหนึ่งที่หนังพยายามสะท้อนคือการไม่เท่าเทียมของการได้รับการรักษา ซึ่งอย่างที่ทุกคนทราบดีว่ายานั้นเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่อยู่ในปัจจัย 4 ของมนุษย์ และการที่ Sodenberg พยายามจะเน้นถึงความไม่เท่าเทียมในประเทศจีนและมุมมองที่รัฐบาลต่างชาติมีต่อประเทศจีนนั้นโดดเด่นมากในตอนท้ายๆของเรื่อง
     สุดท้ายหนังเรื่องนี้เล่นในประเด็นการตัดสินใจของมนุษย์และยิงคำถามมาสู่คนดูว่าเราจะทำเพื่อคนรอบข้างหรือเราทำเพื่อส่วนรวมในสถานการณ์ที่สุดขั้วอย่างนี้จากประโยคเด็ดของภารโรงประจำ WHO ว่า "I've got people too Dr.Cheever, we all do" (แม้ผลการตัดสินใจของแทบทุกตัวละครจะเป็นไปในทาง + เสียทั้งหมด)
     
     สิ่งที่ผมชอบในหนังเรื่องอีกอย่างหนึ่งนี้คือการวางสีของภาพให้เน้นอารมณ์มากที่สุด โดยในช่วงแรกๆนั้น จะเน้นไปทางสีโทนมืดเพื่อที่จะแสดงถึงความสับสนและไม่รู้ของตัวละครหลัก (ที่ไม่หลักซะทีเดียวอย่าง Mitch Emhoff) แต่พอฉากตัดมาที่การทำงานของ WHO และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะออกไปในโทนสีส้มของหลอดไฟซึ่งสื่อถึงการรู้ซึ้งและเข้าใจและทำให้รู้สึกปลอดภัยในเวลาเดียวกัน
     อีกสิ่งหนึ่งคือการโฟกัสจุดที่พยายามจะสื่อมากเกินไปและผมว่ามันเริ่มรำคาญตา ความรู้สึกเดียวกับการดูหนัง 3D แล้วเน้นฉากออกมา อารมณ์เดียวกันเลยหรือผู้กำกับอยากจะทำเป็น 3D ตามกระแสอีกคนน่าคิดนะ
     นอกจากนี้แล้ว Soundtrack ประกอบภาพยนต์เรื่องนี้ซึ่งเป็นผลงานของ Cliff Martinez (อย่าถามเท่าที่ผมเช็คผมไม่เคยฟังของคนนี้มาก่อน) ก็เข้ากันได้อย่างไม่น่าเชื่อในหลายๆจุดทั้งในห้องแล็บและประกอบกับสถานการณ์ Post-Apocalypse ในเมืองอย่าง Chicago ซึ่งบางคนอาจจะไม่ชอบก็ได้แต่ถ้าเป็นแนว electronic แบบนี้โดนใจผมไปเต็มๆ

     สิ่งที่ผมสังเกตุได้ชัดอีกอย่างนึงก็คือแนวทางการวางโครงเรื่องของ Steven Soderberg ครับ ถึงผมจะเคยดูแค่ Ocean's Triology แต่ผมก็สามารถสัมผัสกับกลิ่นอายของผู้กำกับคนนี้ได้โดยตรง ลักษณะที่ผมสังเกตุพบคือการใช้ตัวละครที่มีจุดเริ่มต้นหลากหลายพร้อมกันโดยมีสถานการณ์หนึ่ง (ในกรณีนี้คือ MEV-1) เป็นตัวเชื่อมเข้าด้วยกันและเมื่อถึงเวลาที่เหมาะก็จะเชื่อมตัวละครเหล่านี้เข้าด้วยกัน
     อีกสิ่งหนึงคือการดำเนินเรื่องแบบลูกโซ่ไปเรื่อยๆ ตั้งแต่เหตุการณ์ที๋โรคเริ่มระบาดไล่ไปจนถึงการดำเนินการแก้ปัญหาจนจบปัญหา แต่ตอนจบนี้แหละถ้าคนเคยดู Ocean's Triology จะรู้ทันทีเลยว่าไอหมอนี่ชอบทำจบแบบนี้จริงๆ 

     ขอพูดนอกเรื่องอีกนิดนึงผมว่าการไปดูหนังโรง ณ เวลานี้เป็นความบันเทิงที่ยากที่จะเข้าถึงต่างจากเมื่อก่อน ผมไม่เกี่ยงเรื่องค่าตั๋วในการเข้าไปดูแต่อยากบ่นเรื่อง snack ว่ามัน charge ราคามากเกินไปจนถึงมากๆ ทำให้ผมเสียความรู้สึกเล็กน้อยก่อนเข้าโรงหนัง
     นอกเรื่องอีกเรื่องคือนี้เป็นครั้งแรกครับที่ผมได้มาดูหนังกับ @Pugkee_mI ซะทีหลังจากใช้เวลากล่อมแล้วกล่อมอีกมาเป็นเวลาหลายเดือนและโดนตัดทิ้งมาหลายเรื่อง ซึ่งผมขอแนะนำนะครับว่า ถ้าคุณจะหาเหตุผลในการที่จะมาดูหนังแบบนี้ไม่ได้หล่ะก็ยากครับที่เขาจะตกลง วิธีแก้คือหาจุดเด่นของหนังครับ ศึกษาดูว่าเป็นแนวที่เขารับได้มั้ยและแน่นอนครับอ่านรีวิวมาก่อนก็ดี จะได้พอโม้ได้ว่าหนังเรื่องนี้มันดียังไง เพราะคำถามที่เขาจะถามจะหนีไม่พ้น "ทำไมถึงอยากดูเรื่องนี้" ขอให้โชคดีครับ


ปล.ดูเสร็จไม่กล้าจับอะไรในที่สาธารณะอีกเลยครับ


Comments